Thursday, March 6, 2014 0 comments

รู้ไว้ใช่ว่าก่อนก้าวขาไปสอบทุนมง ! (2. สมัคร สอบ สัมภาษณ์)



ชื่อเอนทรี่นี้เรียกง่าย ๆ ว่า สสส. นะคะ /ตรึ่งแช่

สวัสดีค่ะ กลับมาอีกครั้งกับ


..นะคะ ヾ(@°▽°@)ノ

จากเอนทรี่ที่แล้วเราก็เขียนเล่าเรื่องโดยรวมของทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปแล้ว
สำหรับวันนี้ก็จะมาเล่าเรื่องของการสมัคร สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์กันล่ะ !

แต่ก่อนจะพูดถึงทีละขั้นตอน มาดูลำดับเวลากันดีกว่าค่ะ

งงมั้ย ? ไม่งงกันหรอกเนอะ /สั่น
(อาจมีการเปลี่ยนแปลงนะคะ อันนี้อิงจากทุนปี 2014)

จะเห็นได้ว่า
- ช่วงสมัครสอบจะเป็นช่วงเดียวกันนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้น สามารถสมัครทุนป.ตรีพร้อมกับทุนวิชาชีพ / วิทยาลัยเทคโนฯได้นะคะเพราะสอบคนละวันกัน แต่ลงสอบวิชาชีพพร้อมกับเทคโนฯไม่ได้นะ !!
- ทุนป.ตรีสอบข้อเขียนเร็วมาก สมัครต้นมิถุนายนสอบปลายมิถุนายน ส่วนวิชาชีพ/วิทยาลัยเทคโนฯสอบหลังจากนั้นราว ๆ เดือนนึงแน่ะ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังตัดสินใจจะสอบรีบตัดสินใจและรีบเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีกว่านะคะ โดยเฉพาะป.ตรี TvT 
- ในทางกลับกัน วันประกาศผลข้อเขียนกับวันสอบสัมภาษณ์ของป.ตรีทิ้งช่วงค่อนข้างนาน(เกือบ ๆ เดือนนึง)ในขณะที่ทุนวิชาชีพ/วิทยาลัยเทคโนฯ ... หกวันค่ะ ปั่นพอร์ตกันมือหงิกเลยทีเดียวนี่พูดเลย /ซีด
- สามสาขานี้ประกาศผลสัมภาษณ์วันเดียวกันค่ะ ของป.ตรีคือสองวันหลังจากนั้น ส่วนอีกสองสาขาก็สัมภาษณ์ปุ๊บวันถัดมาประกาศเลยค่ะ คือดี
- แต่หลังจากนั้นก็อย่าเพิ่งโล่งใจนะคะ เห็นคำว่า ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการส่งชื่อจากสถานทูตญี่ปุ่น ไหมคะ ?

มันแปลว่าเรายังต้องรอผลการตัดสินใจจากรัฐบาลญี่ปุ่นอีกสี่เดือนไงคะ คะ คะ ...
(เดี๋ยว อย่าเพิ่งกดปิดบล็อกสิ)
จนถึงตอนนั้นก็คือต้องใจตุ้ม ๆ ต่อม ๆ กันต่อไปค่ะ ปีนี้ประกาศผลช่วงกลาง ๆ เดือนธันวาคมทางจดหมาย (ปกติผลข้อเขียนและสัมภาษณ์จะประกาศผลทางเว็บไซต์)


และนั่นล่ะค่ะคือลำดับขั้นตอนแบบคร่าว ๆ ของทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
ต่อไปจะพูดถึงแต่ละขั้นตอนละนะ !

_______________________________________________________

1. สมัครสอบ
ก่อนจะสอบ เราก็ต้องสมัครสอบก่อนสิ
สำหรับใบสมัคร สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของสถานทูตญี่ปุ่น(สำหรับทุนปริญญาตรี)และเว็บไซต์ของสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการชื่อยาวจังวุ้ย(สำหรับทุนวิชาชีพ/วิทยาลัยเทคโนฯ) โดยจะมีให้ดาวน์โหลดในช่วงรับสมัคร(พฤษภา-มิถุนา)ค่ะ

นอกจากใบสมัคร(เรียกใบอาจจะไม่ถูก เรียกปึกสิดี มีตั้งสี่ห้าหน้า...)เอกสารที่ต้องเตรียมไปมีดังนี้
1. รูปถ่าย(4.5*3.5 ซม.) 3 ใบ เขียนชื่อไว้หลังรูปกันรูปหลุดหายด้วยค่ะ
2. ผลการเรียน หรือ Transcript ตัวจริง 1 ชุด ระบุผลการเรียน 5 เทอม ฉบับภาษาอังกฤษ (GPA รวม ต้องได้เกินเกณฑ์ที่กำหนดนะคะ)
3. ใบรับรองความเป็นนักเรียน ตัวจริง 1 ใบ ฉบับภาษาอังกฤษ ต้องระบุด้วยว่าจะจบการศึกษาในเดือนมีนาของปีหน้า (ระบุเป็นวันได้ก็จะดี) เวลาขอเอกสารต้องชี้แจงและเน้นย้ำต่อห้องทะเบียนมาก ๆ นะคะ
4. ใบ Certificate ของผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) สำเนา 1 ใบ (ถ้ามี)

สำหรับวิธีการกรอกใบสมัครสอบ สามารถดูบล็อกนี้เป็นแนวทางได้เลยค่ะ เขียนไว้ค่อนข้างละเอียด ตอนเราสมัครก็อิงจากของพี่เขาล่ะ :D
ที่สำคัญ ๆ ก็คือ 
- ถ้าเป็นไปได้ เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ลายมือเรียบร้อยจะดีมากค่ะจะได้อ่านได้ง่าย
- อย่าลืมวงช่องที่ระบุว่าส่งที่จังหวัดไหนนะคะ (มุมขวาบน)
- ช่องที่ให้เขียนเหตุผลยาว ๆ : ร่างจากกระดาษข้างนอกดูก่อนนะคะ อย่ารีบ ค่อย ๆ เกลาไป อย่าเขียนตามที่คิดลงใบสมัครทันทีเพราะเกิดไม่ถูกใจหรืออะไรขึ้นมา นั่นคือหายนะ... orz ควรมีรอยแก้ให้น้อยที่สุดนะคะ

แบบร่างของเรา(ฉบับป.ตรี)เองล่ะ
ร่างแบบงง ๆ ของจริงออกมาก็งง ๆ ตาม(ฮา)

สำหรับการไปส่งใบสมัครก็แล้วแต่สาขานั้น ๆ ระบุไว้เลยค่ะ
แนะนำสำหรับคนที่ไปส่งใบสมัครทุนป.ตรี ไปตั้งแต่วันแรก ๆ น่าจะดีกว่านะคะ เพราะคนเยอะมาก มากถึงกับมีรับบัตรคิวเลยทีเดียว นั่งเหี่ยว ๆ อยู่นานกว่าจะได้ส่งใบสมัคร ที่ต้องรอเพราะเขาจะมีตรวจความเรียบร้อยของเอกสารด้วยค่ะ ระหว่างรอเราก็ตรวจดูและจัดเรียงเอกสารให้เรียบร้อยซะ

อ้อ ตรงนั้นจริง ๆ แล้วจะมีตัวอย่างการเขียนใบสมัครให้ด้วยล่ะ เพื่อความมั่นใจไปเทียบกับตรงนั้นอีกทีก็ได้นะ

เมื่อส่งเอกสารการสมัครสอบแล้ว ก็เสร็จเรียบร้อยไปขั้นตอนนึงแล้วล่ะ ! 

_______________________________________________________

2. สอบข้อเขียน

หลังจากนั้นทางเว็บไซต์จะมีประกาศสถานที่สอบ
ต่อจากนี้จะเป็นสนามใหญ่แล้วล่ะค่ะ
แนะนำให้ไปถึงสนามสอบ 1 ชม. ก่อนเวลาสอบนะคะ ไม่รู้ว่ารถจะติดรึเปล่า ไปก่อนก็มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจหน้าห้องสอบ สำรวจพื้นที่ หาห้องน้ำ ทบทวน ฯลฯ มีเวลาเหลือดีกว่ารีบ ๆ มาแล้วเหนื่อยทำข้อสอบไม่รู้เรื่องนะคะถถถ


สำหรับวิชาที่ใช้สอบ ได้บอกในเอนทรี่ที่แล้วนะคะสำหรับแต่ละสาขา

วิชาที่ใช้สอบข้อเขียน
สาขาปริญญาตรี :
สายวิทย์ - อังกฤษ เลข เคมี ฟิสิกส์/ชีวะ(แล้วแต่สาขาที่เลือกสอบ)
สายศิลป์ - อังกฤษ เลข

วิทยาลัยเทคโนฯ : อังกฤษ เลข ฟิสิกส์/ชีวะ
วิชาชีพ : อังกฤษ เลข

(สามารถเลือกสอบภาษาญี่ปุ่นได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งไม่มีผลต่อคะแนนสอบข้อเขียน)

สำหรับการสอบข้อเขียน สาขาปริญญาตรีจะยากกว่าวิทยาลัยเทคโนฯกับวิชาชีพค่ะ (ความเห็นเด็กสายศิลป์เช่นเรา : โดยเฉพาะเลขค่ะ คือมันแบบฟฟฟฟฟหกด่าสว)
ทางที่ดีที่สุดนะคะ ควรเตรียมตัวโดยการทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ ค่ะ ข้อสอบมักจะออกแนวเดียวกันหรือใกล้เคียง ซึ่งข้อสอบเก่านั้นก็ไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหน สามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อสอบเก่าได้ ที่นี่ ค่ะ
สะดวกดีเนอะ :^D

edit : รู้สึกเหมือนควรเขียนเพิ่มเติมอีกนิด อันนี้ความรู้สึกเรานะ
ข้อสอบภาษาอังกฤษ เราว่าเน้นเรื่องการอ่านและความเข้าใจ เพราะงั้นศัพท์ก็สำคัญนิดนึง แต่ศัพท์ไม่ยากมาก ข้อสอบประมาณ CU-TEP (?) แต่ลองทำข้อสอบเก่าล่ะชัวร์สุดละ
ข้อสอบเลขนี่แบบ อัลไลลลลล คือมันเป็นเรื่องที่เราไม่ได้เรียนเลยแอบช่วยไม่ได้ orz แนะนำให้เปิดข้อสอบเก่าแล้วจดสูตรที่ใช้ในโจทย์ข้อสอบเก่า เพราะส่วนใหญ่ก็ออกคล้าย ๆ กัน
(อ้อ ข้อสอบเลขเป็นเติมคำ ส่วนอังกฤษเป็นเลือกช้อยส์นะ)

ส่วนข้อสอบญี่ปุ่น(คือเราเลือกสอบมา) จะแบ่งเป็นสามพาร์ทค่ะ พาร์ทแรกประมาณ N5-ต่ำกว่า N4คือไม่ยากนะ ส่วนพาร์ทสองนี่ N3 ละ พาร์ทสามนี่ไม่ต้องพูดถึงค่ะ ราว ๆ N2-N1 ได้มั้ง เอื้อห์
ถามว่าทำได้เท่าไหร่ พาร์ทแรกกับพาร์ทสองนิด ๆ ค่ะ ตอนนั้นคือเดี้ยง

_______________________________________________________


3. สอบสัมภาษณ์

มาถึงขั้นตอนหลัก ๆ ขั้นสุดท้ายแล้วค่ะ ' สอบสัมภาษณ์ '
สำหรับคนที่ผ่านการสอบข้อเขียนมาได้นี่ก็ถือว่าเจ๋ง ๆ มากแล้วล่ะค่ะ เอ้าสู้ต่อไป

คือจริง ๆ แล้วเราก็ไม่รู้จะแนะนำเรื่องการสอบสัมภาษณ์ยังไง(ป่อย) เอาเป็นหลัก ๆ ละกันนะคะ

พอร์ตตอนสัมภาษณ์สาขาวิชาชีพค่ะ
มีคนแนะนำว่าทำแบบเป็นตัวของตัวเอง ก็จัดไปค่ะ(...)

- ลองตั้งคำถามถามตัวเองซ้ำ ๆ จากประวัติส่วนตัวและสิ่งที่ตัวเองเขียนลงใบสมัครค่ะ แล้วเวลาตอบให้ตอบโดยพูดออกมา จะช่วยให้หายประหม่าบ้างแหละ
- ฝึกแนะนำตัว เป็นภาษาอังกฤษ (และภาษาญี่ปุ่นถ้าพูดได้) พูดบ่อย ๆ ค่ะพูดบ่อย ๆ จะได้จำได้เป็นแพทเทิร์นเลย ถึงมันจะดูไร้สาระไปนิดแต่การแนะนำตัวก็สร้างความประทับใจแรกได้ดีนะ !
- นั่งด้วยบุคลิกภาพที่ดี หลังตรง สบตาผู้สัมภาษณ์เป็นระยะ ๆ (ผู้สัมภาษณ์มีหลายคน) เวลาพูดอาจจะใช้ภาษากาย (ใช้มือประกอบ) บ้าง แต่ไม่ต้องเยอะ ไม่ต้องกว้าง
- ถ้าจะให้ดี ลองหาคนมาช่วยฝึกจะดีมากเลยค่ะ ให้เขาลองนั่งประจันหน้ากับเราแล้วฝึกพูด แล้วค่อยให้เขาชี้ว่าเราต้องแก้ตรงไหนบ้าง บางทีมุมมองจากคนอื่นก็ช่วยได้มากเลย

อืม ไม่รู้จะแนะนำอะไรจริง ๆ นะแหละ 555555 แต่รวม ๆ ก็ประมาณนี้ล่ะ

หลังจากผ่านสัมภาษณ์แล้วทำยังไง ? หลังจากนั้นเราจะได้เขียนใบสมัครรอบใหม่เพื่อส่งไปยังรัฐบาลญี่ปุ่นค่ะ (แต่ไม่ใช่ว่ารอบแรกเราจะเขียนมั่ว ๆ แล้วถ้าผ่านค่อยรอแก้ทีหลังนะ เพราะบางครั้งคนสัมภาษณ์ก็ถามจากข้อมูลในใบสมัครเรานี่ล่ะ) หลังจากนั้นก็รอ รอ และรอค่ะ เป็นขั้นตอนที่ยากสุดละเอาจริง TvT

_______________________________________________________


ขั้นตอนโดยรวมก็มีประมาณนี้ล่ะนะ
ครั้งหน้า(คิดว่า)จะเล่าเรื่องประสบการณ์การไปสอบของตัวเองนี่ล่ะ
ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะดีเลิศนะคะ ค่อนข้างออกไปทางกากถถถถถถ
ยังไงก็ขอบคุณที่อ่านจนถึงตอนนี้ และหวังว่าจะช่วยในการเตรียมตัวในการสอบไม่มากก็น้อยนะคะ

สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ
(●´∀`●)


Wednesday, March 5, 2014 0 comments

06032014


รู้วันบิน(แบบไม่เป็นทางการ)แล้วล่ะ

หนึ่งเมษา

เร็วจังเลยเนอะ

ว้าก
รู้สึกยังไม่พร้อมในหลาย ๆ อย่าง ฮา
กระเป๋าก็ยังไม่ได้เริ่มจัด เฟรนด์ชิพที่เพื่อนให้มาก็ยังไม่ได้เริ่มเขียน
แย่จุง

เผลอ ๆ ก็อีกไม่ถึงเดือนแน่ะ ยังนึกถึงช่วงที่รอผลทุนออกอยู่เลย ทำไมสี่เดือนมันนานนักนะ
พอถึงเวลาจริง ๆ ละเวลาผ่านไปเร้วเร็ว

เอาล่ะ ตอนนี้ก็คงต้องพูดว่า
' 1 เดือนในไทยมันสั้นนะน้อง '
อะไรอย่างงี้รึเปล่านะ(ฮา)

ใกล้ได้เวลาเริ่มต้นใหม่แล้วล่ะ

กัมบาเระนาวซัง


Sunday, March 2, 2014 0 comments

รู้ไว้ใช่ว่าก่อนก้าวขาไปสอบทุนมง ! (1. รู้จักกันก่อนนะ)


สวัสดีค่ะ
วันนี้ก็จะมาพูดถึงทุน ๆ หนึ่งที่ทุกคนน่าจะคุ้นหูคุ้นตากันนะคะ


ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น นั่นเองงงง (◡‿◡✿) 


ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ?
ใช่ค่ะ ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Japanese Government (MEXT) Scholarship) สั้น ๆ ว่าทุนมง 
ก็ตามชื่อนะแหละ คือทุนการศึกษาที่ทางรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นได้จัดสรร
ห้นักเรียนจากหลากหลายประเทศได้เข้ามาศึกษาต่อในญี่ปุ่นในสาขาต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น ระดับปริญญาตรี วิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยี อบรมวิชาชีพครู
หรือไปศึกษาพื่อทำงานวิจัยก็ยังได้

แล้วทุนนี้มันดียังไง ?
อย่าให้พูดค่ะ ก็เยอะอยู่ถถถถถ
อย่างแรกเลย คือแน่ล่ะ เราจะได้ไปเรียนต่อในประเทศญี่ปุ่น
และการไปเรียนที่นั่นเนี่ย ก็เหมือนเป็นไฟลท์บังคับให้เราต้อง
เรียนภาษาญี่ปุ่นจนพูดอ่านเขียนได้ไปในตัว (อ่านไม่ได้คุณก็เรียนไม่รู้เรื่อง เอาสิ)
ซึ่ง ทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็ใจดี๊ใจดี ให้เราเรียนภาษาญี่ปุ่นก่อน 6 เดือนหรือ1 ปี
(เฉพาะสาขานศ.วิจัย ป.ตรี วิชาชีพ และวิทยาลัยเทคโนโลยีเท่านั้นนะ ระยะเวลาแล้วแต่สาขาเลย)
เพราะฉะนั้น มั่นใจได้เลยว่าถ้าได้ทุนนี้ไปแล้ว นอกจากความรู้ที่จะได้กลับมา
คุณจะได้ภาษาที่สามติดไม้ติดมือกลับมาด้วย ! ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวค่ะ ฮ่าาา

อย่างที่สองที่หลาย ๆ คนน่าจะสนใจ ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นทุนให้เปล่าค่ะ 
ให้เปล่า ? ไม่ให้-- ไม่ใช่แบบนั้นนะคะ
หมายถึง เมื่อคุณได้รับทุนแล้วไปศึกษาจนจบแล้ว คุณไม่ต้องกลับมาใช้ทุน
(เช่น ทำงานให้บริษัท/องค์กรใด ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง)ที่ประเทศไหนอีกเลยนั่นเอง
ดีใช่ไหมคะ ? ได้ทุนฟรีแล้วยังไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ อีก ถือว่าเป็นทุนที่ค่อนข้างคุ้มค่าทีเดียว

อย่างสุดท้ายที่จะพูดถึง อาจจะฟังดูเว่อร์ไปนิด แต่การได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ
ไม่ว่าที่ใดก็ตามก็เหมือนเป็นการไปเปิดโลกของตัวเองให้กว้างขึ้นเลยล่ะ โดยเฉพาะ
ประเทศญี่ปุ่น ที่ตามความเห็นของเราเราคิดว่าเป็นประเทศที่พัฒนาไปไกลมาก ๆ 
และวัฒนธรรมที่นั่นก็แปลกไปจากเราหลายอย่าง นอกจากนี้เรายังจะได้ไปเจอกับ
นักเรียนทุนจากประเทศอื่น ๆ ด้วยอาจจะมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ทำให้เราได้
เห็นแง่มุมหลาย ๆ อย่างที่อาจจะไม่เคยเห็น
ไม่แน่ว่ากลับมาเราอาจจะได้ความคิดดี ๆ กลับมาพัฒนาประเทศด้วยก็ได้นะ :-D

_______________________________________________________

เอาล่ะ ร่ายมาก็เยอะแล้ว
ต่อจากนี้จะขออธิบายถึงทุนรัฐบาลญี่ปุ่นในแต่ละสาขากันเลยนะคะ
ขอพูดถึงแค่ทุนที่นักเรียนม.ปลายสามารถสมัครได้นะคะ รู้รายละเอียดเด่น ๆ เฉพาะแค่นี้ ;-; ขอโทษจริง ๆ ค่ะ
รายละเอียดอื่น ๆ สามารถเข้าไปดูได้ ที่นี่ เลยค่ะ
(อนึ่ง ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีการจำกัดจำนวนคน จำนวนดังกล่าวอิงจากจำนวนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2014 )

1. ทุนระดับนักศึกษาปริญญาตรี (ปีนี้ได้ 19 คน สายวิทย์ 15 คน และสายศิลป์ 4 คน)
ทุนนี้เป็นทุนสำหรับนักเรียนม.ปลายที่ต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
ในประเทศญี่ปุ่นระดับชั้นปริญญาตรีค่ะ มีสองสาขาหลัก ๆ คือสายวิทย์กับสายศิลป์
ทุนนี้ถือว่าโหดมาก 55555 เพราะแต่ละปีมีคนสมัครถึง 700-800 คนเลยทีเดียว !
แล้วรับกี่คนคะ ไม่ถึง 20 คน... /ซีด 
(เห็นบางเว็บบอกส่วนใหญ่เด็กเตรียมฯกับมหิดลฯที่โหด ๆ จะได้ไป ซึ่งก็จริง(...) แต่ไม่ลองก็ไม่รู้หรอก จริงมั้ยยย)

เกรดขั้นต่ำที่กำหนด 5 เทอม : 3.80
(สำหรับคนที่สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นจะสามารถลดเกรดได้ค่ะ โดย N3-N4 = 3.50 / N1-N2 = 3.30)

วิชาที่ใช้สอบข้อเขียน :
สายวิทย์ - อังกฤษ เลข เคมี ฟิสิกส์/ชีวะ(แล้วแต่สาขาที่เลือกสอบ)
สายศิลป์ - อังกฤษ เลข
(ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปสามารถเลือกสอบภาษาญี่ปุ่นได้ด้วยนะ แต่ไม่มีผลกับคะแนน 
ใครอยากทรมานตัวเองเล่นก็ไปสอบดูค่ะ ฮ่าาา)

นักเรียนที่ได้รับทุนจะได้ไปเรียน :
・ปรับพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น(และวิชาอื่น ๆ ที่จำเป็น1 ปี 
・เรียนปริญญาตรีอีก 4 ปี 
(ถ้าเป็นคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ เรียนอีก 6 ปี)

สาขาที่สามารถเลือกเรียน และรายละเอียดอื่น ๆ สามารถเข้าไปศึกษาได้ ที่นี่ ค่ะ


2. ทุนระดับทุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยี (ปีนี้ได้ 4 คน)
และ
3. ทุนนักศึกษาฝึกอบรมวิชาชีพ (ปีนี้ได้ 7 คน) ทุนนี้เป็นทุนที่เราได้เองล่ะ :-D
สองทุนนี้เป็นทุนสำหรับนักเรียนม.ปลายที่ต้องศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยค่ะ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยนะ !
อาจไม่คุ้นชื่อเท่าไหร่ แต่ก็คือเรียนสายอาชีพนี่เองค่ะ โดยจะมีวิชาให้เลือกหลากหลายพอควร
อย่างวิทยาลัยเทคโนฯก็จะเป็นสายวิศวะฯต่าง ๆ เครื่องกล ไฟฟ้า นู่นนี่นั่น 
ส่วนวิชาชีพก็จะเป็นแนว ๆ ทำกับข้าว ดนตรี วาดการ์ตูน ธุรกิจ มากมายก่ายกองค่ะ
จะเห็นได้ว่าหลากหลายสุด ๆ ถ้าชอบอะไรเฉพาะด้าน ลองเก็บไว้เป็นทางเลือกก็ดีนะเออ
ปีที่ผ่าน ๆ มามีคนสอบเกือบสาขาละ 100 คน ทั้งของเทคโนฯและวิชาชีพ 
อาจจะดูน้อยกว่าทุนป.ตรี แต่ก็อย่าประมาทไปล่ะ

เกรดขั้นต่ำที่กำหนด 5 เทอม : 3.00

วิชาที่ใช้สอบข้อเขียน :
วิทยาลัยเทคโนฯ - อังกฤษ เลข ฟิสิกส์/ชีวะ
วิชาชีพ - อังกฤษ เลข
(มีเลือกสอบภาษาญี่ปุ่นเหมือนกันเน้อ)

นักเรียนที่ได้รับทุนจะได้ไปเรียน :
・ ปรับพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น 1 ปี
・ วิทยาลัยเทคโนฯ 3 ปี / วิชาชีพ 2 ปี
 ☆ นักเรียนทุนที่มีผลการเรียนดีมากอาจได้รับการต่อทุนอีกสองปี โดยเข้าศึกษาต่อในระดับป.ตรี ปี 3-4 ค่ะ

สาขาที่สามารถเลือกเรียน : วิทยาลัยเทคโนโลยี / วิชาชีพ
รายละเอียดอื่น ๆ สามารถเข้าไปศึกษาได้ ที่ นี่

_______________________________________________________


ก็จบไปแล้วล่ะค่ะสำหรับการแนะนำเรื่องทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
อันนี้แค่เกริ่นนะ ! คราวหน้าเราจะมาเล่าถึงเรื่องการสมัครสอบกับการสอบกันนะ
มีแผนจะเขียนเรื่องทุนอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่นที่สามารถสมัครได้ด้วยล่ะ
ยังไงก็ติดตามกันได้เล้ยยย

สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ ヾ(。・ω・。)



 
;